ReadyPlanet.com


อักขระยันต์กับความขลังที่มีมานานนับ 100 ปี อักขระยันต์กับความขลังที่มีมานานนับ 100 ปี ยันต์ ถือว่


 

อักขระยันต์กับความขลังที่มีมานานนับ 100 ปี

อักขระยันต์กับความขลังที่มีมานานนับ 100 ปี

 

 ยันต์ ถือว่าเป็น วิชาที่มีมาคู่กับชาติไทยเราแต่ครั้งบรรพกาล เพี้ยนมาจากคำว่า ยัญญ์ เป็นภาษาบาลีแปลว่า สิ่งที่มนุษย์ พึงเซ่น สรวงบูชา ให้มีความสุข ความเจริญ แต่ภาษาไทยเราเปลี่ยนเขียนเป็น ยันต์ ซึ่งหมายถึง รอยเส้น ที่ขีดขวางไปมาสำหรับลง คาถา

เพื่อความชัดเจน ของอักขระ (อักษรที่ลง) ครูอาจารย์สมัยโบราณจึงคิดทำเป็นตารางบ้าง (รูปเคารพ ปูชนียวัตถุต่างๆ บ้าง) แล้วเขียนอักษรลงไปในตารางหรือ รูปภาพที่คิดขึ้น เช่น เสือ สิงห์ หนุมาน ฯลฯ) จึงได้บังเกิดรูปยันต์ต่างๆ ตามที่เรานิยมนับถือกันในปัจจุบันนี้

นะโมพุทธายะ จะเป็นลักษณะรูป “นะ” ปฐมกัปปี

“กัปปี” นี้จะชื่อว่า “ ภัทรกัปปี ” จะมีพระพุทธเจ้ามาตรัส ๕ พระองค์ แล้วจึงได้ทรงเอาหญ้าคาทิ้งลงมา บันดาลให้เกิดแผ่นดินขึ้น เริ่มมีมนุษย์สัตว์ พืชพรรณทั้งหลายนับแต่ครั้งกระนั้นมา ฉะนั้นก่อนจะศึกษาหรือใช้กัมภีร์ปถมัง หรือจะลงนะอักขระวิเศษใดๆ ก็สุดแล้วแต่จำเป็นจะต้องกล่าวคำนอบน้อม ระลึกถึงท้าวสหบดีพรหมผู้เป็นปฐมเหตุเสียก่อน

ยันต์ก็ไม่ใช่ตัวนะทุกตัวนั้นจะต้องประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๕ ประการ คือ

๑ พินธุ (นิคหิตวงกลม)

๒ ทัณฑะ (ไม้เท้าง่าม)

๓ เภทะ (แตกแยกออกไป)

๔ อังกุ (งอเป็นขอ)

๕ สิระ (เป็นหัว)

ตัวนะทุกตัวจะต้องประกอบขึ้นด้วยสูตรทั้ง ๕ นี้ แเต่รูปร่างของนะนั้นๆ จะแต่งต่างกันไป ทำไมถึงเรียกกันว่า นะอย่างโน้น นะอย่างนี้ เช่น นะหน้าทอง นะมหานิยม นะมหาละลวย ฯลฯ เหตุใดไม่เรียกกันว่า โมหน้าทอง หรือ พุทหน้าทอง ทั้งนี้ก็เห็นจะเป็นเพราะว่านะตัวต้น คือ นะปถมกัปปี หรือ นะพินทุ เมื่อประกอบขึ้นด้วยสูตรทั้ง ๕ ประการ บังเกิด ขึ้นเป็นรูปร่างแล้ว มีลักษณะคล้ายกับตัวนะในหนังสือขอมนั่นเอง จึงได้เรียกว่า "นะ"

ขอขอบคุณ:   ดูดวงแม่นๆ



ผู้ตั้งกระทู้ มาโก๊ะ :: วันที่ลงประกาศ 2022-10-23 10:39:59


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล